สมาคมคาสิโนออนไลน์ PG SLOT แห่งประเทศไทย พูดคุยสล็อต PG เล่นง่ายที่สุด
ลาวัลย์ ยามานากะ : 4 ฤดูกาลในญี่ปุ่น กับการเป็น “ล่าม ทัดดาว-แก้วกัลยา” - Printable Version

+- สมาคมคาสิโนออนไลน์ PG SLOT แห่งประเทศไทย พูดคุยสล็อต PG เล่นง่ายที่สุด (https://pgslotgroup.net)
+-- Forum: สมาคมสล็อตออนไลน์ PG แห่งประเทศไทย (https://pgslotgroup.net/forumdisplay.php?fid=1)
+--- Forum: วิเคราะห์บอล ข่าวกีฬา ทีเด็ดบ้านผลบอล (https://pgslotgroup.net/forumdisplay.php?fid=3)
+--- Thread: ลาวัลย์ ยามานากะ : 4 ฤดูกาลในญี่ปุ่น กับการเป็น “ล่าม ทัดดาว-แก้วกัลยา” (/showthread.php?tid=21)



ลาวัลย์ ยามานากะ : 4 ฤดูกาลในญี่ปุ่น กับการเป็น “ล่าม ทัดดาว-แก้วกัลยา” - bspolarbear - 04-28-2022

[Image: B6FtNKtgSqRqbnNsbGBxDpSQ04mMKngrQ4KBoA5K...dqqzK9.jpg]

ลาวัลย์ ยามานากะ ล่ามภาษาญี่ปุ่นของสโมสรเจที มาร์เวลลัส เผยเบื้องหลังการอยู่เคียงข้างความสำเร็จ 2 นักวอลเลย์บอลหญิงไทย ทัดดาว นึกแจ้ง กับ แก้วกัลยา กมุลทะลา

วอลเลย์บอลวี.ลีก ดิวิชั่น 1 ญี่ปุ่น ฤดูกาล 2021-22 ปิดฉากลงไปแล้ว แชมป์เป็นของ "ฮิซามิสึ สปริงส์" ส่วน "เจที มาร์เวลลัส" ได้เพียงรองแชมป์ พลาดโอกาสป้องกันแชมป์เนื่องจากฝ่ายจัดการแข่งขันยกเลิกเกมรอบชิงชนะเลิศ นัดสอง เพราะสถานการณ์ โควิด-19 

แน่นอนว่าในสโมสร เจที มาร์เวลลัส มี "แนน" ทัดดาว นึกแจ้ง นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ร่วมทีมอยู่ด้วย น่าเสียดายที่เกมรอบชิงฯ นัด 2 ไม่เกิดขึ้นเพราะอาจได้เห็น บอลเร็วทีมชาติไทย คว้าแชมป์วี.ลีก ได้ 2 สมัยติด ถึงแม้นัดแรกจะแพ้มาก่อน 1-3 เซต แต่เกมกีฬาอะไรก็เกิดขึ้นได้

รวมทั้ง เจที มาร์เวลลัส เกือบจะคว้าแชมป์วี.ลีก 3 สมัยติด ก่อนหน้ามีนักตบลูกยางสาวไทย อยู่ในทีมชุดแชมป์ 2 คน คือ ทิพย์ แก้วกัลยา กมุลทะลา (ฤดูกาล2019-2020), แนน ทัดดาว นึกแจ้ง (ฤดูกาล 2020-2021) ทั้งสองสัมผัสแชมป์คนละ 1 สมัย แต่มีอีกหนึ่งคนไทยที่ลิ้มรสชาติการเป็นแชมป์มาแล้วถึง 2 สมัยติด นั่นก็คือ "คุณเมย์" ลาวัลย์ ยามานากะ ล่ามภาษาญี่ปุ่นของสโมสรเจที มาร์เวลลัส แต่กว่าจะมายืนตรงจุดที่เคียงข้างความสำเร็จนักกีฬาไทยไม่ใช่เรื่องง่าย

ล่ามแปลภาษาชื่อลาวัลย์ ยามานากะ หรือ เมย์ เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนตัวชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น และชอบอาหารญี่ปุ่น พอจบมหาวิทยาลัย จึงมาศึกษาภาษาญี่ปุ่นต่อที่โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น ที่โกเบ ประเทศญี่ปุ่น

[Image: Dtbezn3nNUxytg04abjyYc5JRmTVHEIJd12LNQvPEL0wLW.webp]

-จุดเริ่มต้นการเป็นล่าม?
จริงๆ อาชีพแรกเป็นครูสอนภาษาไทยให้คนญี่ปุ่น มีนักเรียนที่สอนภาษาไทยให้บอกว่า “ภาษาญี่ปุ่นของคุณครูเก่งมาก น่าจะไปเป็นล่ามนะคะ” คือตอนแรกก็กังวล แต่ก็ลองตัดสินใจไปเพราะคิดว่าจะได้อัปสกิลภาษาของเราด้วย แต่พอได้ทำแล้วจริงๆ คือชอบ ถึงตอนนี้คิดว่าดีแล้วที่ตอนนั้นตัวเองเลือกอาชีพการเป็นล่ามแปลภาษาค่ะ”
ส่วนงานล่ามครั้งแรก แปลให้บริษัทผลิตรถยนต์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาที่ประเทศไทย ต่อมาก็เป็นล่ามมาหลายแขนง แปลเกี่ยวกับกฎหมาย, ธนาคาร, สถานีตำรวจ, โรงพยาบาล และอื่นๆ นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้วตอนนี้ยังเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยค่ะ

-เข้าสู่การเป็นล่ามที่ เจที มาร์เวลลัส ?

เมื่อปี 2018 เจที มาร์เวลลัส เปิดรับสมัครล่ามแปลภาษาจึงสมัครเข้ามาค่ะ จำได้ว่าตอนนั้นทำงานอยู่อีกจังหวัดไกลมากค่ะ แต่เจทีอยากให้มาสัมภาษณ์ เขาเลยเสนอออกค่าเดินทางให้ พอสัมภาษณ์ผ่านก็เริ่มทำงานในเดือนถัดไปเลยค่ะ

หากนับถึงปัจจุบัน ล่ามแปลภาษา ลาวัลย์ ยามานากะ เป็นล่ามแปลภาษาไทย-ญี่ปุ่นที่สโมสรเจทีมาแล้ว 4 ฤดูกาล
ทิพย์ แก้วกัลยา กมุลทะลา (ฤดูกาล 2018-2019 / 2019-2020)
แนน ทัดดาว นึกแจ้ง (ฤดูกาล2020-2021 / 2021-2022)

-ความรู้สึกการเป็นล่ามครั้งแรก?

“ตื่นเต้นมากค่ะ นอนไม่หลับเลยเตรียมตัวนานมาก ครั้งแรกการเป็นล่าม มีแปลติดขัดและมึนไปไม่ถูกเลยค่ะ ที่จำได้ไม่ลืมคือ ตอนที่แปลให้รายการทีวีญี่ปุ่นค่ะ คือแบบมึนมาก แต่พอแปลบ่อยๆ มีประสบการณ์เยอะขึ้น ความมั่นใจก็ตามมาค่ะ”

-การเตรียมตัวที่จะเป็น ล่ามให้นักกีฬาวอลเลย์บอล?

สำหรับตัวเองนอกจากการศึกษาภาษาและศัพท์เทคนิคเฉพาะทางของวอลเลย์บอลแล้ว ยังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิทยาอีกด้วยค่ะ

“ตอนแรกซื้อหนังสือมาอ่านเองค่ะ จำได้ว่าเฉพาะภาษาญี่ปุ่นซื้อมาอ่าน 7-8 เล่ม ไม่ใช่เฉพาะหนังสือเกี่ยวกับวอลเลย์บอล แต่เป็นหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสภาพจิตใจนักกีฬา หนังสือเกี่ยวกับการดูแลกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับการเป็นโค้ช คืออ่านเยอะมาก จดใส่สมุดโน้ต ถ้าใครทำงานกับคนญี่ปุ่น แนะนำจดใส่โน้ตเยอะๆ เพราะจะแสดงถึงความใส่ใจของเรา ส่วนภาษาไทยไม่มีขายที่ญี่ปุ่นก็เลยต้องหาอ่านจากในอินเทอร์เน็ต แต่พอมาเริ่มทำงานจริงๆ ก็ถามนักกีฬาตรงหน้างานเลยค่ะ ว่าคำนี้ (ศัพท์เทคนิค) หมายความว่าอย่างไร”

-ความแตกต่างของการแปล “ไทย เป็น ญี่ปุ่น” กับ “ญี่ปุ่น เป็น ไทย”?
มองว่า ถ้าจาก ญี่ปุ่น เป็น ไทย ก็ไม่ยาก ฟังแล้วแปลพร้อมได้เลยเนื่องจากอยู่ที่นี่นานคิดว่าสกิลการฟังค่อนข้างดี
แต่ถ้าจากไทย เป็น ญี่ปุ่น ก็จะยากหน่อยค่ะ เพราะภาษาญี่ปุ่นไม่ใช่ภาษาหลักของเราพอฟังแล้วต้องเรียบเรียงเป็นภาษาญี่ปุ่นที่สละสลวยอีกทีนึง

-“ความกดดัน” กับการเป็นล่ามให้ทีมใหญ่อย่าง “เจที มาร์เวลลัส”?
กดดันมากๆ ค่ะ เพราะเจที มาร์เวลลัส หวังแชมป์ทุกปี บรรยากาศในทีมคือแบบต้องแชมป์เท่านั้นและความกดดันของแต่ละปีแตกต่างกันค่ะ

ปีแรกที่ น้องทิพย์ มาคือ นักกีฬาและสตาฟฟ์โค้ชใหม่เยอะมากค่ะ ส่วนพี่เป็นล่ามมานานก็จริงแต่เพิ่งเป็นล่ามให้ทีมนักกีฬา ยังจำตอนเข้าประชุมครั้งแรกได้เลยค่ะ มีแต่ศัพท์ที่เราไม่รู้จัก เนื่องจากเขาพูดเร็วมาก ต้องแปลทับศัพท์ไปค่ะ พอประชุมเสร็จ ถามน้องว่าเข้าใจไหม น้องบอกเข้าใจค่ะ และมีชีตให้ด้วย ทำให้น้องดูแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

[size=1]ส่วนปีแรกที่น้องแนน ทัดดาว มาคือเป็นปีที่ต้องป้องกันแชมป์ คือ เรารู้เลยว่าน้องแนนก็กดดันมาก การที่มาอยู่ทีมที่ได้แชมป์คือกดดันมากๆ ปีนั้นกดดันทั้งทีมเพราะแฟนวอลเลย์บอลญี่ปุ่นส่วนมากเขาคิดว่า “ถ้าได้แชมป์ 2 สมัยติดต่อกัน คุณจะเป็นของแท้หรือเก่งจริงๆ คือบรรยากาศในทีมตอนนั้นคือกดดันกันทั้งฤดูกาลเลยค่ะ มีนอนไม่หลับบ้างและนักกีฬาคนไหนร้องไห้ พี่ก็ร้องไห้ตามด้วย นักกีฬาโดนดุ ก็เหมือนเราโดนดุค่ะ”[/size]

-ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ นักวอลเลย์บอลหญิงไทย?
[size=1][size=1]ดีใจมากๆ ค่ะ กล้าพูดเลยว่า พี่ทำทุกอย่างด้วยใจรัก ทุ่มเทมาก เมื่อก่อนตอนประชุมก็แปลอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้คิดตามไปด้วย บางทีคิดว่าแผนการเล่นจะเป็นอย่างนี้ สนุกและอินกับการคิดแผนการเล่นไปด้วย เหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของทีม แต่ก็คุ้มกับการที่เราเหนื่อยและสิ่งที่ได้มาค่ะ[/size]


[/size]


[size=1]-นักกีฬาทั้ง 2 คน ที่ทำงานด้วย มีความแตกต่างกันอย่างไร?[/size]
[size=1]แน่นอนว่านิสัยและทัศนคติอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง มีจุดแกร่งที่แตกต่างกัน แต่ที่พี่ดูแลมาน่ารักทั้ง 2 คนเลยค่ะ พี่โชคดีมากเลยค่ะ ทำงานกับน้องทั้ง 2 คนไม่ยากเลยค่ะ พี่สอนภาษาญี่ปุ่นให้น้องๆ ด้วยทำให้เขาคุยเล่นกับเพื่อนๆ ในทีมได้ และพี่ก็สอนภาษาไทยให้นักกีฬาญี่ปุ่นด้วย นักกีฬาญี่ปุ่นรักและสนิทกับนักกีฬาไทยทั้งสองคนมาก เราทำงานด้วยกันอาทิตย์ละ 6 วัน เนื่องจากสถานการณ์โควิดช่วงนี้วันหยุดส่วนมากอยู่บ้านพักผ่อนกันค่ะ[/size]

-การมีส่วนช่วยให้นักกีฬาเป็นแชมป์ถือว่าประสบความสำเร็จ?

[size=1]มากๆ เลยค่ะ รู้สึกเหมือนตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทยมีชื่อเสียงมากในวงการวอลเลย์บอลหญิงญี่ปุ่นตอนนี้ ภูมิใจในตัวน้องๆ จริงค่ะ”[/size]
[size=1][size=1]พี่พยายามทำทุกอย่างให้ออกมาในภาพลักษณ์ที่ดีที่สุด เพื่อประเทศไทยของเราด้วยค่ะ ขอบคุณน้องทิพย์กับน้องแนนมากๆ เลยค่ะ ที่เป็นเด็กน่ารัก พี่มีความสุขมากๆ ที่ได้ทำงานกับน้องทั้ง 2 คน ได้ประสบการณ์มากจากทำงานกับบริษัทเจที ทำงานกับน้องๆคนละ 2 ฤดูกาลแล้ว ขอบคุณมากๆ ค่ะ”[/size]


[/size]


[size=1]-เทคนิคช่วยให้นักกีฬาไทยปรับตัวที่ญี่ปุ่น?[/size]
[size=1]พี่รู้ว่าสิ่งที่นักกีฬามักกังวลเมื่อเล่นลีกอาชีพต่างประเทศคือ “เรื่องการสื่อสาร” พี่เป็นล่ามพูดภาษาญี่ปุ่นได้ก็จริงแต่พี่เข้าใจว่าเวลาที่ เราอยากพูดอะไรแล้ว สื่อสารเองไม่ได้มันจะอึดอัดมาก ฉะนั้นอันดับแรกพี่จะทำให้นักกีฬารู้สึกว่าไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องการสื่อสาร ต่อไปก็คุยกับน้องเรื่องวัฒนธรรมลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่น ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องปรับจนไม่เป็นตัวเรา แต่เราต้องเข้าใจว่าเขาเป็นอย่างไร[/size]
[size=1][size=1]“คืออยากบอกว่าพี่ประทับใจน้องทั้ง 2 คนมากค่ะ น้องน่ารักกับพี่มากๆ เป็นที่รู้กันว่าการทำงานกับคนญี่ปุ่นคือห้ามสาย น้องทั้ง 2 คนก็ไม่เคยลาขาดหรือสายเลยค่ะ เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก พี่ผูกพันมากทั้ง 2 คน พี่คิดว่าเขาเป็นเหมือนคนในครอบครัว ห่วงมากรักมากค่ะ”[/size]


[/size]


[size=1]-แนะนำนักกีฬาวอลเลย์บอลไทย เมื่อมาเล่นที่ญี่ปุ่น?[/size]
[size=1]อันดับแรก คือ “วินัย” ค่ะ นัดกับคนญี่ปุ่นต้องมาก่อนเวลานัด อย่างน้อย 10-15 นาที
“การที่ให้คนอื่นรอที่ญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหญ่ ถ้ามีใครพูดอะไรเราต้องตั้งใจฟังจดได้จดเลยค่ะ”
[/size]

-คนที่อยากเป็นล่ามนักกีฬาต้องเริ่มอย่างไร?

[size=1]เรื่องการเป็นล่าม นักกีฬา อันดับแรกต้องมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะอยู่กับสถานการณ์ที่กดดันตลอดเวลา พร้อมทุ่มเทให้เวลากับนักกีฬา ถ้าโอเคกับจุดนี้และบวกกับสกิลภาษาญี่ปุ่น เป็นล่ามนักกีฬาได้ไม่ยากค่ะ สำหรับตัวเองเรื่องของวอลเลย์บอล ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ตอนมัธยมต้นก็เคยเล่น ทำให้พอรู้กฎกติกาบ้าง คำศัพท์เกี่ยวกับกีฬาหรือศัพท์เทคนิคต่างๆ ก็ไม่ยากเท่าไรค่ะ[/size]

[size=1]จำได้ว่าตอนที่มาสอบสัมภาษณ์เข้าบริษัทเจที มีคำถามหนึ่งว่า "คุณคิดว่าจุดแกร่งในการเป็นล่ามของคุณคืออะไร?"
พี่ตอบว่า : จุดแกร่งของฉันคือการที่ฉันเข้าใจทั้งวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างดี และบางครั้งจะไม่ใช้การแปลตรงอย่างเดียวแปลเน้นความหมายให้เข้าใจตรงกัน นี่อาจเป็นเหตุสำคัญที่เจทีรับเข้าทำงานค่ะ
[/size]

-หลายครั้งเคยท้อจนอยากเลิกเป็นล่ามมั้ย?

[size=1]อย่างที่บอกไป บรรยากาศในทีมคือต้องแชมป์เท่านั้น เหนื่อยบ้างท้อบ้าง แต่เราก็รักน้องอยากทำงานช่วยน้อง (นักกีฬา) ให้บรรลุไปตามความตั้งใจของเขา และตอนที่ทำงานต้องมีสมาธิตลอดเวลา เขาพูดปุ๊บเราต้องแปลปั๊บ เหนื่อยแต่ก็สู้มาได้ 4 ฤดูกาลแล้ว ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่คอยให้กำลังใจค่ะ”[/size]

-อ่านคอมเมนต์แฟนวอลเลย์บอลในโลกออนไลน์หรือไม่ ?

ติดตามฟีดแบ็กจากแฟนกีฬาในโซเชียลบ้างค่ะ แต่ก็ไม่ค่อยมีเวลาอ่านหมดค่ะ อย่างที่รู้คือยุ่งมาก ซึ่งจริงๆ นักกีฬาเขาก็อ่านคอมเมนต์กันค่ะ คอมเมนต์กันเบาๆ นะคะ

เป็นที่น่าเสียดายที่ เจที มาร์เวลลัส ไม่ได้ลงแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ นัดที่ 2 เพราะแมตช์แข่งขันต้องถูกยกเลิกไป ซึ่งล่ามแปลภาษา เมย์ ลาวัลย์ ยามานากะ มองว่าเจทีมีโอกาสที่จะพลิกสถานการณ์กลับมาชนะได้แน่นอน

-เป้าหมายต่อไปหลังจากนี้?

ขอกลับไทยพักผ่อนก่อน แล้วค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป

-มุมมองต่อวงการวอลเลย์บอลหญิงญี่ปุ่น ?

คิดว่าญี่ปุ่นตัวเลือกเยอะมากและศักยภาพไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไร ทุกคนน่าจะสู้กันได้หมด แม้กระทั่งในสโมสรเจทีที่ลง 6 คนแรก ซึ่งทุกคนมีสกิลฝีมือไม่ต่างกันเท่าไร ทีมอื่นก็เช่นกันค่ะ ถ้าลองดูทีมอื่น เช่น ฮิซามิสึ สปริงส์ หรือเอ็นอีซี เรด ร็อคเกตส์ ตัวเลือกเยอะมากในทุกตำแหน่ง คิดว่าอนาคตวอลเลย์บอลญี่ปุ่นสูงขึ้นอีกค่ะ
ทราบมาว่าทางสมาคมวอลเลย์บอลญี่ปุ่นปูพื้นฐานให้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งถ้าคัดตอนโตและมาซ้อม มันอาจต้องใช้เวลานาน ต้องมาเพิ่มพื้นฐาน ทักษะสกิลต่างๆ คิดว่าระบบจีนกับญี่ปุ่นน่าจะคล้ายๆ กันค่ะ ส่วนตัวไม่ค่อยได้ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองไทยมาก ไม่ค่อยทราบระบบของไทยค่ะ แต่สำหรับพี่คิดว่าวอลเลย์บอลไทยพัฒนาไปได้อีกไกลแน่นอนตอนนี้เราก็พัฒนามาเยอะแล้วจนทำให้หลายๆ ประเทศรู้จักเรา และมีนักกีฬาไปเล่นลีกต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี รู้สึกภูมิใจในตัวน้องๆ และนักกีฬาทุกคนที่ช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยของเราค่ะ

[Image: Dtbezn3nNUxytg04abjyYc5JRmTVHEIJfNu7WuuzNh3drX.webp][/font][/color][/size]